Saturday, May 28, 2016

เขียน Iso แบบนี้ แก้แบบเป็นปี พี่ Inspector ก็ไม่ให้ผ่าน..!

Isometric Drawing Layout  

ไม่ใช่งานไครที่ไหนหรอกครับ งานแอดมินเอง นี่แหล่ะ
คือสมัยนั้นบอกตรงๆ ไม่รู้จักเลยครับ ไอ้งาน Piping 3D เนี่ย
นายสั่งมาก็ ออกหน้างานไปร่างแบบ กลับมาเขียน รอแก้
ลอกลงไอโซ รันจ๊อยต์ เขียนแบบ For con ทำ Shop drawing
แล้วนั่งนิ่งๆ รอเก็บ As Built
เป็นวัฏจักรเยี่ยงนี้เรื่อยไป
จนกระทั้งวัน นึง.....
งานมันไม่ผ่าน โดนสั่งหยุดงาน....
ฉิพ...เลยสิครับ
ผมถามพี่ Inspector ว่า พี่ครับ แบบผมทำไมไม่ผ่านครับ
คำตอบที่ได้รับคือ
แบบคุณสวยดีนะ แต่ ทิศเหนืออยู่ไหน...?
แล้วแต่ละชุดท่อคุณตัด Line Number ยังไง?
แล้วแบบ Isometric piping คุณอยู่ไหน?
ผมเห็นแต่ Layout Iso.
แล้วพี่แกก็ถามผมอีกเยอะเลย.....5555
บอกตรงๆครับผมตอบไม่ได้ เพราะไม่เคยรู้มาก่อน
พี่เค้าคงเริ่มรู้แล้ว ว่ามึงนี่ มันไม่รู้เรื่องอะไรเล้ยยยย 555
แกเลยไปหยิบเอกสารตัวอย่างแบบมาให้ชุดนึง
Isometric Piping Drawing
พอผมได้เห็น ผมนี่ซีดดดดไปเลย .......
ผมกล่าวขอบคุณพี่เค้าแล้วกลับออฟฟิศทันที
และหลังจากวันนั้น
คือวันที่ผมได้เริ่มใช้งาน Piping 3D ครั้งแรกครับ
ผลหรอครับ
ต่อมาอีกสักพัก งานผ่านครับ.....

Wednesday, May 18, 2016

ข้อมูลที่ต้องได้มา ก่อนเริ่มเขียนแบบ 3D Piping



ข้อมูลที่ต้องได้มา ก่อนเริ่มเขียนแบบ 3D Piping  
ด้วยโปรแกรม Autocad plant 3D

ก็จะมีด้วยกันสองเรื่องหลักๆที่ผมเน้นเวลาทำแบบ คือ
1. Layout plan
2. Piping spec

ดูที่นี่ก่อนเลยครับ layout plan ของงานที่ได้รับมา


ไม่ว่าจะเป็นคนในทีมไปสำรวจเอง หรือรับข้อมูลมาจากลูกค้า เพราะว่าเจ้า Layout plan ที่ว่าเนี่ยจะต้องถูกนำไปอ้างอิงในการขึ้นแบบ
ไม่ว่า จะเป็น Building, Structure, Equipment, Piping etc.
ก็ล้วนต้องอ้างอิงจาก Layout plan ทั้งนั้นครับ (Basic design)
แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้า Layout plan ที่ได้รับมานั้นไม่ถูกต้อง......! หึหึ น่าจะทราบกันอยู่แล้วนะครับ
คำถามต่อมา.....แล้วอะไรล่ะ ที่เราต้องตรวจสอบก่อนใช้งาน Layout plan นั้นๆ
เอาล่ะเรามาเริ่มกัน
ได้แบบมาให้ใจเย็นๆ อย่าพึ่งรีบทำ ให้ตรวจสอบแบบอและขอมูลที่ได้รับทั้งหมดก่อน ว่ามีความพร้อมหรือไม่

สิ่งสำคัณที่เราจะตรวจสอบคือ Unit

หรือหน่วยที่ใช้ในแบบ Layout plan หน่วยที่เล็กสุดในการออกแบบงานโครงสร้างต่างๆคือ หน่วยมิลลิเมตร งานเหล็ก และงานท่อ จะใช้หน่วยในแบบเป็นมิลลิเมตรเท่านั้นครับ (บ้านเราจะอ่านความโตท่อเป็นนิ้ว อ่านความยาวเป็นมิลลิเมตร) นั่นก็หมายความว่า Layout plan ที่เราได้รับมาประกอบการออกแบบในโครงการนั้น ก็ต้องเป็นหน่วยมิลลิเมตรเท่านั้น และแบบที่จะต้องทำการอ้างอิงกับงานในโครงการนี้ ก็จะต้องเป็น......... ถูกต้องครับ หน่วยมิลลิเมตร
ถ้าไม่ใช่ ก็ควรจัดการ Rescale unit ซะให้เรียบร้อย ถ้าคุณยังปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไป รับรองได้ว่าช่วงท้ายๆของโครงการคุณได้ปวดหัวแน่ครับ
แล้วคุณรู้หรือไม่ว่า เวลาที่เราเปิดไฟล์เขียนแบบนั้น เราได้เลือก unit อะไรในการเขียน ถ้าหากเราเปิดโดยไม่ได้เลือกว่าจะใช้ dwt ตัวใด เค้าจะให้แบบมาเป็นหน่วยนิ้วครับ ที่นี้ล่ะครับ ถ้าคนไม่รู้ เค้าจะวาดแบบหน่วยมิล บน template แบบนิ้ว ปัญหาเกิดแน่นอนครับ แล้วถ้าเราต้องร่วมงานกับอีกหลายๆฝ่าย ล่ะครับ อย่างเช่น เปิด template เป็นหน่วยนิ้ว แต่เขียนแบบเป็นเมตร สนุกล่ะครับงานนี้
ยังครับ ยังไม่หมด ถ้าคิดว่าแค่แก้ unit แล้วจะหมดปัญหา
มันง่ายไปครับ
ลองนึกย้อนไปครับ ว่าที่ มาของ Layout plan นั้น
มีที่มาอย่างไรก่อนมาถึงมือเรา
มันเริ่มจากแบบสำรวจ เพื่อตีหมุด ระบุจุดอ้างอิงในการก่อสร้างครับ คุ้นๆ มั้ยครับ ก็จุด 0,0 ไงครับ แล้วไอ้ 0,0 นี่มันคืออะไร
อาจจะมีคนสงสัย มันคือตำแหน่ง World coordinate system (Wcs) โดยที่ แกน X จะแทนทิศตะวันออก Y แทนทิศเหนือ และ Z แทนระดับความสูงครับ ซึ่งระยะที่ระบุในแบบสำรวจ และใน Dwg. มันต้องตรงกันครับ ถ้าไม่ตรง ก็ให้ย้ายจุด 0,0 ของ Layout plan ย้ายมาให้ตรงกับจุด 0,0 ของไฟล์นะครับ

ถ้าไม่ย้าย คุณจะไปเจอปัญหาตอนทำแบบ isometric piping drawing ครับ เพราะเขาจะไปแสดงข้อมูลระยะจุดตัดของ Grid line พวกที่บอกระยะแบบ N,E, EL ในแบบไม่ตรงกับแบบสำรวจ หากคุณคิดว่าคุณจะใช้คำสั่ง move ย้ายในภายหลัง ต้องระวังนะครับ
เพราะสื่งที่คุณทำ มันจะทำให้ weld point ของpiping ในโปรแกรมนั้นหลุด เมื่อหลุดแล้วเวลาที่เรา Gen Isometric มันก็จะขึ้น Error ครับ ทีนี้ละครับปวดหัวแน่
เพราะฉนั้นก่อนจะเริ่มทำแบบ ก็ควรพิจารณาเรื่องของ Layout Plan ด้วยนะครับ เพื่อจะได้ ไม่เกิดปัญหา ซึ่งไม่ควรจะเกิด เราจะได้ปิดงานได้ง่ายขึ้นครับ
ครั้งหน้าผมจะมาเล่าเรื่องของความสำคัญของ Piping spec และรายละเอียดที่ต้องพิจารณา ก่อนทำเริ่มทำแบบครับ
ขอบคุณครับ
Plant3Dtutor

วิธีการปรับแก้ Layout plan 
จากหน่วยนิ้วเป็นหน่วยมิลในโปรแกรม AutoCAD