Monday, July 17, 2017

How to control 3D Pipe in AutoCAD Plant 3D

จุดเด่นของโปรแกรม AutoCAD Plant 3D ก็คือเรื่องการควบคุมและการจัดการ Piping 3D นี่ล่ะครับ
วันนี้ผมเลยทำวีดีโอสอนวิธีการควบคุม ในการเดินท่อ 3D Piping มาให้ได้ศึกษากัน
สำหรับผม เรื่องนี้ถือเป็นพื้นญานสำคัญในการใช้โปรแกรมนี้เลยครับ
ถ้าใช้ไม่คล่องเนี่ย งานง่ายๆก็จะกลายเป็นงานช้างสุรินท์เลยนะครับ
เรื่องนี้ ก็เหมาะกับมือใหม่หัดใช้มาก แต่มือเก่าก็ควรดูนะครับ ส่วนมากเวลาผมออกไปสอนหนังสือก็จะตกม้าตายกันเยอะพอสมควร
ดูจบแล้วถ้ามีข้อสงสัยใดๆ ก็ทิ้งคำถามไว้ในเพจได้เลยครับ

Topic in VDO

►Select pipe class and size.
►Input pipe length value and move part command.
►Separate pipe by weld pipe command.
►Change pipe size by properties command.
►Substitute part and snap override.
►Continue pipe routing and plane control.
►Base component and cutback elbow command.
►Add Valve component and pipe fitting command.
►Quick and Production Iso.


Wednesday, April 26, 2017

Pipe spacing table

เรื่องระยะของท่อแต่ละขนาดนั้น 
เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ผมเจอเป็นประจำ 
คือ จำไมไ่ได้น่ะครับ ว่าท่อแต่ละขนาดนั้นต้องห่างกันเท่าไหร่

วันนี้ผมก็เลยนำข้อมมูลบางส่วนของ ระยะห่างในการจัดวางท่อ 
โดยอ้างอิงข้อมูลจากหนังสือ ตารางท่อ สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง และวิศวกร
ที่ผมมีใช้จนจะขาดอยู่แล้ว นำข้อมูลของขนาดท่อมาลงเป็นบทความไว้ให้อ้างอิงใช้งานกันครับ 

เครดิต 
ตารางท่อ สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างและวิศวกร
ผู้แต่ง : ที กรุ๊ฟ อ๊อฟ เอ็นจิเนียร์

Monday, April 17, 2017

P&ID Data to 3D Pipe routing

P&ID คืออะไร

ในการเขียนแบบงาน 3D Piping โดยปกติแล้ว ข้อมูลของงานท่อที่จะนำมาอ้างอิงหลักๆ ก็คือ งานจาก P&ID ซึ่งมีคำเต็มว่า Piping and Instrument Diagram ครับ ซึ่งแบบจะมีรูปร่างหน้าตาแบบนี้


เพราะฉะนั้น P&ID ก็คือ
แผนผังที่บอกเล่าเรื่องราวการทำงานของกระบวนการนั้นๆ ในรูปแบบของ Diagram
จริงๆงานที่เขียนแบบเชิง Diagram แบบนี้ ไม่ได้มีเฉพาะงานท่ออย่างเดียวนะครับ

  • ถ้างานไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์ เขาจะเรียกว่า Schematic ซึ่งจะแยกย่อยออกมาเป็นภาพใหญ่ (Single line) จนถึงระดับ Detailing (Scheme)ได้อีก ซึงผมจะขอยกยอดไปเล่าต่อในส่วนของหัวข้อ สอนเขียนแบบไฟฟ้าเบื้องต้นนะครับ

ในแบบ P&ID สามารถบอกอะไรเราได้บ้าง

มาตราฐานที่ใช้ในการเขียน 

เอาล่ะสิ แล้วรู้ตัวกันมั้ยว่าคุณเขียน P&ID มาตรฐานอะไรกันอยู่บ้างครับ ถ้าไม่ทราบก็ไม่แปลกหรอกครับ เพราะตอนที่ผมเริ่มทำงานด้านนี้ ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ถ้าเช่นนั้น มาดูกันว่ามีกี่ มาตรฐาน

  • DIN (Geraman Industrial Standard)
  • JIS (Japanese Industrial Standards )
  • ISA (Instrument symbols and  identification )
  • PIP (Process Industry Practices)

ซึ่งอุปกรณ์เดียวกัน แต่อยู่ต่างมาตรฐาน จะให้สัญลักษณ์ ไม่เหมือนกันครับ พอแบบมาถึงเรา เราจับแพะชนแกะกันอย่างสนุกสนานเลยล่ะครับ จากนั้นพอจะรื้อจัดทำระบบให้เป็นมาตรฐานไว้ใช้ในหน่วยงาน ก็ต้องมานั่งคัดแยกกันล่ะครับ 

ต่อมาก็คือ Equipment ครับ

ใน Equipment ก็จะบอกสัญญลักณ์ของอุปกรณ์นั้นๆตามมาตราฐานที่ใช้งานครับ และที่ขาดไม่ได้เลยคือ Tag ซึ่งจะเป็นตัวแยกชนิด และจำนวนของ Equipment ในแต่ละตัวครับ ไม่งั้นเวลาสั่งของ งงแน่ครับ

และต่อไปก็คือ Process line

จะเป็นเส้นที่กำหนดทิศทางของกระบวนการ (Flow Process) นั้นๆครับ โดยปกติแล้วจะต้องถูกเชื่อมต่อกับ Equipment ปลายทาง ซึ่งรายละเอียดที่จะบอกใน Process line ก็จะมีดังนี้ครับ
  • Pipeline tag ซึ่งอย่างน้อยควรที่จะบอกข้อมูลดังนี้ครับ Pipe Diametor, Pipe class, Service, pipe spec, Line number ส่วนอื่นที่เสริมเข้ามาก็จะเป็นพวก Insulation type and thickness ครับ
  • Valve and Instrument  ซึ่งมนส่วนนี้ก็ต้องมี Tag ระบุอย่างชัดเจนเช่นกันครับ เพื่อป้องกันการสับสนเวลาทำรายการวัสดุของโครงการครับ
ซึ่งข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน Process line จะถูกนำไปอ้างอิงในการเดินท่อ (Routing) ในงาน Piping 3D ครับ
ซึ่งในโปรแกรม AutoCAD Plant 3D เราสามารถที่จะดึงข้อมูลส่วนนี้มาใช้งานได้เลย ด้วยคำสั่ง
 P&ID data และยังสามารถที่จะ Cross check ระหว่าง P&ID data และ Piping 3D ได้อีกด้วย ลองเข้าไปดูในวีดีโอด้านล่างนะครับ แล้วคุณจะชอบ