Wednesday, November 23, 2016

สอน พื้นฐาน Autocad plant 3D ตอนที่ 9 Isogen

การควบคุมระยะวาล์ว และอุปกรณ์ในแนวท่อ เพื่อทำแบบ Iso gen
การวางอุปกรณ์ในแนวท่อให้ได้ระยะตามที่ต้องนั้น
ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากในงานเขียนแบบครับ
เพราะถ้าหากคุณวางผิดเพี้ยนจากระยะที่กำหนดแล้ว
ก็จะมีผลโดยตรงกับงานประกอบท่อใน shop
หรือที่หน้างานเลยล่ะครับ

มันจะเสียทั้งเวลา เสียทั้งของ และเสียเงินด้วยครับ
ถ้าเช่นนั้นเรามาดูกันเลยครับว่า
ต้องควบคุมอย่างไร
จึงจะได้ดั่งใจต้องการ

สอน Autocad plant 3D ตอนที่ 8 Auto route

สอน พื้นฐาน Autocad plant 3D ตอนที่ 8
วิธีกำหนดแนวท่ออย่างง่ายด้วยคำสั่ง Auto route pipe.

และแล้วก็มาถึงบทเรียนที่หลายท่านรอกัน
ในเรื่องของการเขียนแบบ Piping 3D
ซึ่งผมจะทำให้ดูว่า มันไม่ได้ยากอะไรเล้ยยยย 555
ไครๆก็ทำได้ครับแน่นอนครับ

และไฮไลท์ของบทนี้
คือเรื่อง Auto route pipe.ครับ
คำสั่งนี้ช่วยชีวิตผมมานับครั้งไม่ถ้วนเลยล่ะ

และในตอนถัดไป
เราจะมาว่าในเรื่องของ Inline asset
จะเป็น Component ที่อยู่ในท่อ อย่าง Valve และ Strainer เป็นต้นครับ

พร้อมแล้ว ไปดูกันเลย...

สอน Autocad plant 3D ตอนที่ 7 Create Pump and edit nozzle.

ร้าง Centrifugal Pump และการจัดการ Nozzle ของ Pump

จะเป็นพาร์ทจบของการกำหนด Equipment ในบทเรียนนี้ครับ
ซึ่งผมได้อธิบายถึงการกำหนดขนาด และการแก้ไข Nozzle ของตัว Pump เอง
เมือทำตามวีดีโอนี้เรียบร้อยแล้ว
ก็เตรียมสนุกกับบทเรียน Auto Route ได้เลยครับ

สอน พื้นฐาน Autocad plant 3D ตอนที่ 6

สร้าง Tank and Nozzle จาก พาเมติกโมเดล
ในวีดีโอนี้นะครับ ผมจะพาทุกคนสร้างถังอย่างง่ายจาก พาเมติกโมเดล ของตัวโปรแกรมเอง
รวมถึงวิธีการสร้าง และปรับแต่งระยะของ นอสเซิลด้วยนะครับ
เปิดเครื่องแล้วลองมาทำตามกันดูนะ

สอน พื้นฐาน Autocad plant 3D ตอนที่ 5

New Drawing and Layout plan

การสร้าง Drawing ในโปรเจค และการแนบไฟล์ Layout plan เข้าร่วมใช้งาน

ก็มาถึงตอนสุดท้ายของวันนี้แล้วนะครับ
ก็จะว่าด้วยเรื่องการสร้าง Drawing ใหม่ขึ้นมาใช้ในโปรเจค
และการนำ Layout Plan เข้ามาใช้ในโครงการด้วยคำสั้ง Copy drawing to project
จากนั้นนึงนำไฟล์ Layout plan เข้าใช้งานโดยการแนบไฟล์ ด้วยคำสั่ง Xref ครับ

ส่วนดีโอถัดไป เราจะมาเรียนเรื่องการสร้าง และควบคุม Parametric Equipment อย่างง่ายกันครับ
กับถัง 2 ใบ ปั้มสองตัว รับรองสนุกแน่ครับ

สอน AutoCAD Plant 3D ตอนที่ 4

การตั้งค่า Option และ Drafting setting

จากประสบการณ์ส่วนตัว
การตั้งค่า Option and Drafting setting
มีผลโดยตรงกับความเร็วในการเขียนแบบครับ

เพราะฉนั้น แค่เขียนเก่งคงยังไม่พอ ต้องตั้งค่าโปรแกรมเป็นด้วยครับ
ถึงจะเรียกว่า เก๋าจริง

ที่นี้ก็ลองมาดูการตั้งค่าในวีดีโอกันนะครับ

สอน Autocad plant 3D ตอนที่ 3

การตั้งค่าสภาพแวดล้อมของโปรแกรม ก่อนเริ่มโครงการ

นับเป็นเรื่องสำคัญเรื่องนึงก่อนเริ่มเขียนแบบ Piping 3D ด้วยโปรแกรมนี้เลยครับ
การปิดพวก Option switch ที่ไม่จำเป็น
จะสามารถช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ
ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้นครับ

ยิ่งงานใหญ่ๆ ยิ่งเห็นผลชัดเจน
ที่นี้ก็ลองมาตั้งค่าตามวีดีโอนี้กันดูนะครับ


Saturday, November 19, 2016

Auto route feature in AutoCAD Plant 3D

Auto Route เป็นคำสั่งในการเดินท่อ เพื่อให้โปรแกรมเสนอทางเลือกรูปแบบของแนวทท่อที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการประมวลผลทางเลือกของโปรแกรม จะขึ้นอยู่กับ Piping component ที่มีใช้อยู่ใน Piping spec ที่ผู้เขียนเลือกใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน และ คำสั่งนี้จะใช้ร่วมกันกับคำสั่ง Override snap (Shift+Right click) โดยเลือกประเภทของ snap เป็น Node ครับ

Sunday, October 23, 2016

สอน AutoCAD Plnat 3D ตอนที่ 2 การสร้างโปรเจค และความสำคัญ



เนื่องจากโปรแกรม AutoCAD Plant 3D นี้ เป็นโปรแกรมประเภท Project system จึงมีความจำเป็นที่ต้องระบุ ข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆก่อนทำ Drawing ครับ ซึ่งขั้นตอนที่ผมจะเน้นคือ การกำหนดหน่วยใช้งานในโปรเจคครับ ซึ่งในโปรเจคจะให้มาสามมาตรฐานด้วยกัน คือ 
  1. Imperial unit ซึ่งจะเป็นค่ามาตรฐานที่โปรแกรมเลือกไว้ ถ้าเผลอกดข้ามไป โปรเจคที่คุณสร้างจะเป็นหน่วยนิ้วทั้งโครงการ
  2. Metric unit แน่นอนครับ หน่วยมิลลิเมตรครับ
  3. Mix metric การกำหนดค่านี้ หน่วยวัดในโครงการจะกำหนดให้ความยาวท่อบอกเป็น มิลลิเมตร และขนาดความโตท่อบอกเป็น นิ้วครับ

Saturday, October 22, 2016

เรียน AutoCAD Plant 3D ตอนที่ 1 (ภาพรวมบทเรียน)

Free Tutorial : Basic Autocad Plant 3D 2012-2017

มาตามสัญญาครับ กับบทเรียนฟรีที่ผมตั้งใจออกแบบขึ้นมา เพื่อให้บุคคลทั้วไป ที่มีความสนใจจะเขียนแบบ Piping ด้วยโปรแกรม Autocad Plant 3D ได้มีพื้นฐานเบื้องต้นในการใช้งานโปรแกรมครับ ตอนนี้ผมทำเสร็จไปแล้ว 5 ตอน ซึ่งใน 5 ตอนแรก ผมจะกล่าวถึงขั้นตอนในการจัดการโปรแกรมก่อนเริ่มโครงการ ซึงเป็นเหมือนกระดุมเม็ดแรก ถ้าหลุด 5 ตอนนี้ไป พื้นฐานไม่แน่น แน่นอนครับ เอาล่ะที่นี้ ก็มาเริ่มต้นบทเรียนโหลดไฟล์สำหรับประกอบบทเรียนนนี้กันเลยครับ คลิกเพื่อดาวน์โหลด https://drive.google.com/file/d/0B1sPqwLwfEgLNFptTmJQcnNsNFE/view?usp=sharing บทเรียนนี้เหมาะสำหรับ 1.ผู้ที่สนใจจะใช้งานโปรแกรม AutoCAD Plant 3D แต่ไม่มีพื้นฐานเลย 2.ผู้ที่ทำงานเขียนแบบในงาน Piping 3.ผู้ที่กำลังจะเปลี่ยนจากเขียนแบบ Piping 2D เป็น Piping 3D เพื่อลดเวลางาน ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มเรียนพร้อมกันกับ Tutorial ตัวแรกกันได้เลยครับ #plant3dtutor

Wednesday, September 28, 2016

ทดสอบความรู้งานเขียนแบบด้วยโปรแกรมประเภท AutoCAD ข้อที่ 2: Layout plan.

Layout plan 

หรือที่ช่างเขียนแบบหลายๆท่านจะเรียกกันติดปากว่า แบบ GA 
ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก General Arrangement Drawing

ซึ่ง Function ของเขาคือ
แสดงพื้นที่ในการทำงานของแบบทั้งโครงการ
ถ้าหากช่างเขียนแบบผู้นั้นได้รับ Layout plan นั้นๆมาประกอบในการทำแบบ และทิศเหนือ (N) ในแบบถูกกำหนดไปในทางแกน X ดังภาพ
คำถามคือ ทิศเหนือที่ถูกกำหนดไปในแกน X นั้น ถูกต้องหรือไม่
และเพราะอะไรครับ
A. ถูก เพราะแกน X คือทิศเหนือ
B. ผิด เพราะแกน Y คือทิศเหนือ
C. ถูก เพราะในไฟล์เขียนไม่มีทิศกำหนด
D. บอกแบบไหนก็ได้ เพราะยังไงก็อ่านรู้เรื่อง

เฉลย...

คำตอบอยู่ที่ Coordinate system ครับ หรือที่เราเรียกว่า WCS (World  Coordinate system )
ซึ่งเป็นการกำหนดตำแหน่งอ้างอิงจากแนวแกน X,Y,Z ซึ่งจะเป็น World space ในไฟล์ (0,0,0)
ซึ่งในส่วนนี้จะมีผลกระทบโดยตรงกับงานที่ต้องมีการ Generate Coordinate value แสดงในแบบ
อย่างเช่น งาน Piping เป็นต้น 

World space
เพราะในงาน Piping ต้องมีการระบุทิศเหนืออย่างเจน เพราะมีผลกับงานประกอบท่อโดยตรง 
ซึ่งถ้าหากไม่มีการกำหนดทิศเหนือในแบบแล้ว จะมีความเป็นไปได้สูงที่ช่างจะประกอบท่อสลับทิศทางกับหน้างานจริง

เพราะฉนั้น จุดเริ่ม Layout plan ของงาน Piping 
จะต้องถูกอ้างอิงที่ World space ในไฟล์ (0,0,0) เสมอ

"และทิศเหนือต้องอยู่ในแนวแกน Y"

เพราะลักษณะของการแทนค่า World space ในไฟล์คือ
  • ตำแหน่งแกน X แทนค่าทิศตะวันออก ค่าที่แสดงในแบบ (E)
  • ตำแหน่งแกน Y แทนค่าทิศเหนือ ค่าที่แสดงในแบบ (N)
  • ตำแหน่งแกน Z แทนค้าระดับความสูงจากพื้น ค่าที่แสดงในแบบ (EL)
ความสำคัญของการแทนค่าแกน X,Y,Z ในงาน Piping

ทีนี้ลองนึกภาพนะครับ
ใน Layout plan ที่เราวาด จะมีการบอกตำแหน่งอ้างอิงเริ่มต้นที่ Grid line (0,0) 
และจะเกิดอะไรขึ้นครับ ถ้าเราไม่อ้างอิงจุดเริ่มต้นของ Layout plan ให้ตรงกับ   World space ในไฟล์
โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าน่าจะมีความวุ่นวายของงานมาในช่วงท้ายๆของงานแน่ครับ
เนื่องจากการแสดงค่าไม่ตรงกับบริษัททีทำการสำรวจมา

เพราะฉนั้น คำตอบคือข้อ B ครับ

*ส่วนงานเขียนแบบแขนงอื่นๆที่ไม่ได้มีการอ้างอิงกับ World  Coordinate system 
คำตอบก็จะเป็นข้อ C และ D ครับ เพราะเป็นแบบเพื่อแสดงรายละเอียด ที่ไม่เน้นเรื่องจุดอ้างอิง

ร่วมแสดงความเห็นได้นะครับ 
เพราะคำตอบที่ผมให้ไปนั้น เป็นมุมมองส่วนตัวจากประสบการณ์เขียนแบบของผู้เขียนเอง

เปิดใจ และยินดีรับฟังทุกความเห็นครับ




Monday, September 26, 2016

ทดสอบความรู้งานเขียนแบบด้วยโปรแกรมประเภท AutoCAD ข้อที่ 1 Unitless

1.หากช่างเขียนแบบท่านนั้นใช้โปรแกรม AutoCAD ในการเขียนแบบ แล้วตั้งค่าหน่วยการใช้งานในการเขียนเป็นแบบ Unitless แบบที่เขียนในหน่วยดังกล่าวนั้น จะเป็นหน่วยวัดในการเขียนแบบสากลมาตรฐานใด

A.ISO


B.Imperial


C.Metric


D.Din


ลองตอบก่อนแล้วค่อยเลื่อนไปอ่านคำตอบนะครับ ^^

เฉลย..............แบบยาว

ก่อนอื่น ก็ต้องทราบก่อนว่า Unitless เนี่ย มันคืออะไร?

ในประเภทโปรแกรมของ AutoCAD จะทำการร่วมกันกับ Drawing template ครับ ซึ่งโดยหลักๆแล้วเขาจะใช้เพียงแค่สองหน่วยใน Template ของโปรแกรม คือ Imperial และ Metric

ข้อสังเกตุ เวลาที่เราเปิด New file ด้วยการกด Ctrl+N นั้น จะมี Template มาให้เลือก 
แต่เท่าที่ผมตรวจสอบดูหลักๆเค้าก็มีแค่ Inch และ Millimeter ครับ

ก็ดูง่ายๆ ถ้าเป็น acad.dwt จะเป็นหน่วย Inch ครับ
แต่ถ้าเป็น acadISO.dwt จะเป็นหน่วย Millimeter ครับ


เพราะฉนั้น Unitless คือ ไม่มีหน่วยครับ

อ้าวแล้วพอไม่มีหน่วยแล้วจะไปวัดระยะอ้างอิงกับอะไรละครับทีนี้
คือโปรแกรม AutoCAD เนี่ยที่ Option Insertion scale เขาตั้งค่า Unitless ไว้ที่ Inch ครับ ตามภาพเลย

Unitless is Inch
เพราะฉนั้น คำตอบก็คือ......คือ........คือข้อ.....ฺB. Imperial ครับ
ซึ่ง Inch ก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ Imperial unit ครับ

เพราะฉนั้นงานคุณก็จะงอกมากขึ้น หากคุณกดปุ่ม New file แล้วไม่ได้ตรวจสอบว่า หน้าที่เปิดมานั้นคือ Unit อะไร ซึ่งปกติมันก็คือหน่วย Inch นั่นแหล่ะครับ
แล้วถ้าคุณปรับหน่วยจาก Inch เป็น Unitless แล้วเขียนงานเป็นหน่วยเมตร ใน Unitless จากนั้นส่งให้พวกผมมา Xref ซึ่งปกติสายเครื่องกลแบบผมก็จะวาดในหน่วยมิล

ปวดหัวสิครับ

และวิธีแก้อย่างง่ายคือ ทางฝั่งเครื่องกลแบบผม ก็ต้องเปิด New file acadISO.dwt จากนั้นก็ COPY Clip board แล้วมาวางในไฟล์ที่เปิดใหม่
ยังดีที่โปรแกรมเขา Re scale object ให้อยู่ตามหน่วยหน้านั้นๆครับ

ส่วน ISO International Organization for Standardization คือองค์การระหว่างประเทศ ว่าด้วยการมาตรฐาน เพราะฉนั้น ไม่เกี่ยว

ส่วน DIN German Institute for Standardization  คือมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศเยอรมัน เพราะฉนั้น ไม่เกี่ยว

โปรดติดตามกับคำถามในครั้งต่อไปด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ

Saturday, May 28, 2016

เขียน Iso แบบนี้ แก้แบบเป็นปี พี่ Inspector ก็ไม่ให้ผ่าน..!

Isometric Drawing Layout  

ไม่ใช่งานไครที่ไหนหรอกครับ งานแอดมินเอง นี่แหล่ะ
คือสมัยนั้นบอกตรงๆ ไม่รู้จักเลยครับ ไอ้งาน Piping 3D เนี่ย
นายสั่งมาก็ ออกหน้างานไปร่างแบบ กลับมาเขียน รอแก้
ลอกลงไอโซ รันจ๊อยต์ เขียนแบบ For con ทำ Shop drawing
แล้วนั่งนิ่งๆ รอเก็บ As Built
เป็นวัฏจักรเยี่ยงนี้เรื่อยไป
จนกระทั้งวัน นึง.....
งานมันไม่ผ่าน โดนสั่งหยุดงาน....
ฉิพ...เลยสิครับ
ผมถามพี่ Inspector ว่า พี่ครับ แบบผมทำไมไม่ผ่านครับ
คำตอบที่ได้รับคือ
แบบคุณสวยดีนะ แต่ ทิศเหนืออยู่ไหน...?
แล้วแต่ละชุดท่อคุณตัด Line Number ยังไง?
แล้วแบบ Isometric piping คุณอยู่ไหน?
ผมเห็นแต่ Layout Iso.
แล้วพี่แกก็ถามผมอีกเยอะเลย.....5555
บอกตรงๆครับผมตอบไม่ได้ เพราะไม่เคยรู้มาก่อน
พี่เค้าคงเริ่มรู้แล้ว ว่ามึงนี่ มันไม่รู้เรื่องอะไรเล้ยยยย 555
แกเลยไปหยิบเอกสารตัวอย่างแบบมาให้ชุดนึง
Isometric Piping Drawing
พอผมได้เห็น ผมนี่ซีดดดดไปเลย .......
ผมกล่าวขอบคุณพี่เค้าแล้วกลับออฟฟิศทันที
และหลังจากวันนั้น
คือวันที่ผมได้เริ่มใช้งาน Piping 3D ครั้งแรกครับ
ผลหรอครับ
ต่อมาอีกสักพัก งานผ่านครับ.....

Wednesday, May 18, 2016

ข้อมูลที่ต้องได้มา ก่อนเริ่มเขียนแบบ 3D Piping



ข้อมูลที่ต้องได้มา ก่อนเริ่มเขียนแบบ 3D Piping  
ด้วยโปรแกรม Autocad plant 3D

ก็จะมีด้วยกันสองเรื่องหลักๆที่ผมเน้นเวลาทำแบบ คือ
1. Layout plan
2. Piping spec

ดูที่นี่ก่อนเลยครับ layout plan ของงานที่ได้รับมา


ไม่ว่าจะเป็นคนในทีมไปสำรวจเอง หรือรับข้อมูลมาจากลูกค้า เพราะว่าเจ้า Layout plan ที่ว่าเนี่ยจะต้องถูกนำไปอ้างอิงในการขึ้นแบบ
ไม่ว่า จะเป็น Building, Structure, Equipment, Piping etc.
ก็ล้วนต้องอ้างอิงจาก Layout plan ทั้งนั้นครับ (Basic design)
แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้า Layout plan ที่ได้รับมานั้นไม่ถูกต้อง......! หึหึ น่าจะทราบกันอยู่แล้วนะครับ
คำถามต่อมา.....แล้วอะไรล่ะ ที่เราต้องตรวจสอบก่อนใช้งาน Layout plan นั้นๆ
เอาล่ะเรามาเริ่มกัน
ได้แบบมาให้ใจเย็นๆ อย่าพึ่งรีบทำ ให้ตรวจสอบแบบอและขอมูลที่ได้รับทั้งหมดก่อน ว่ามีความพร้อมหรือไม่

สิ่งสำคัณที่เราจะตรวจสอบคือ Unit

หรือหน่วยที่ใช้ในแบบ Layout plan หน่วยที่เล็กสุดในการออกแบบงานโครงสร้างต่างๆคือ หน่วยมิลลิเมตร งานเหล็ก และงานท่อ จะใช้หน่วยในแบบเป็นมิลลิเมตรเท่านั้นครับ (บ้านเราจะอ่านความโตท่อเป็นนิ้ว อ่านความยาวเป็นมิลลิเมตร) นั่นก็หมายความว่า Layout plan ที่เราได้รับมาประกอบการออกแบบในโครงการนั้น ก็ต้องเป็นหน่วยมิลลิเมตรเท่านั้น และแบบที่จะต้องทำการอ้างอิงกับงานในโครงการนี้ ก็จะต้องเป็น......... ถูกต้องครับ หน่วยมิลลิเมตร
ถ้าไม่ใช่ ก็ควรจัดการ Rescale unit ซะให้เรียบร้อย ถ้าคุณยังปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไป รับรองได้ว่าช่วงท้ายๆของโครงการคุณได้ปวดหัวแน่ครับ
แล้วคุณรู้หรือไม่ว่า เวลาที่เราเปิดไฟล์เขียนแบบนั้น เราได้เลือก unit อะไรในการเขียน ถ้าหากเราเปิดโดยไม่ได้เลือกว่าจะใช้ dwt ตัวใด เค้าจะให้แบบมาเป็นหน่วยนิ้วครับ ที่นี้ล่ะครับ ถ้าคนไม่รู้ เค้าจะวาดแบบหน่วยมิล บน template แบบนิ้ว ปัญหาเกิดแน่นอนครับ แล้วถ้าเราต้องร่วมงานกับอีกหลายๆฝ่าย ล่ะครับ อย่างเช่น เปิด template เป็นหน่วยนิ้ว แต่เขียนแบบเป็นเมตร สนุกล่ะครับงานนี้
ยังครับ ยังไม่หมด ถ้าคิดว่าแค่แก้ unit แล้วจะหมดปัญหา
มันง่ายไปครับ
ลองนึกย้อนไปครับ ว่าที่ มาของ Layout plan นั้น
มีที่มาอย่างไรก่อนมาถึงมือเรา
มันเริ่มจากแบบสำรวจ เพื่อตีหมุด ระบุจุดอ้างอิงในการก่อสร้างครับ คุ้นๆ มั้ยครับ ก็จุด 0,0 ไงครับ แล้วไอ้ 0,0 นี่มันคืออะไร
อาจจะมีคนสงสัย มันคือตำแหน่ง World coordinate system (Wcs) โดยที่ แกน X จะแทนทิศตะวันออก Y แทนทิศเหนือ และ Z แทนระดับความสูงครับ ซึ่งระยะที่ระบุในแบบสำรวจ และใน Dwg. มันต้องตรงกันครับ ถ้าไม่ตรง ก็ให้ย้ายจุด 0,0 ของ Layout plan ย้ายมาให้ตรงกับจุด 0,0 ของไฟล์นะครับ

ถ้าไม่ย้าย คุณจะไปเจอปัญหาตอนทำแบบ isometric piping drawing ครับ เพราะเขาจะไปแสดงข้อมูลระยะจุดตัดของ Grid line พวกที่บอกระยะแบบ N,E, EL ในแบบไม่ตรงกับแบบสำรวจ หากคุณคิดว่าคุณจะใช้คำสั่ง move ย้ายในภายหลัง ต้องระวังนะครับ
เพราะสื่งที่คุณทำ มันจะทำให้ weld point ของpiping ในโปรแกรมนั้นหลุด เมื่อหลุดแล้วเวลาที่เรา Gen Isometric มันก็จะขึ้น Error ครับ ทีนี้ละครับปวดหัวแน่
เพราะฉนั้นก่อนจะเริ่มทำแบบ ก็ควรพิจารณาเรื่องของ Layout Plan ด้วยนะครับ เพื่อจะได้ ไม่เกิดปัญหา ซึ่งไม่ควรจะเกิด เราจะได้ปิดงานได้ง่ายขึ้นครับ
ครั้งหน้าผมจะมาเล่าเรื่องของความสำคัญของ Piping spec และรายละเอียดที่ต้องพิจารณา ก่อนทำเริ่มทำแบบครับ
ขอบคุณครับ
Plant3Dtutor

วิธีการปรับแก้ Layout plan 
จากหน่วยนิ้วเป็นหน่วยมิลในโปรแกรม AutoCAD 

Wednesday, March 9, 2016

DVD Tutorial AutoCAD Plant3D 2016 Intermediate.

You can do this model and more feature after finish this course.
ภาพโมเดลที่คุณทำสำเร็จหลังจากเรียนหลักสูตรการใช้งานระดับกลาง

Course name: AutoCAD Plant3D 2016  Intermediate level

รายละเอียดสื่อการสอน

ชื่อสื่อการสอน: เขียนแบบงานท่ออุสาหกรรมด้วยโปรแกรม AutoCAD Plant 3D 2016
ภาษา: ไทย (Thai language) 
จำนวนหัวข้อที่บรรยาย: 85 Lecture.
จำนวนชั่วโมงที่ใช้บรรยายในสื่อการสอน: 7Hr.
ระดับความสามารถที่ต้องใช้: ระดับกลาง (Intermediate)
ราคา: 1,000บาท

วิธีการชำระเงินท่านสามารถชำระเงินค่าสื่อการสอนได้ที่ชื่อบัญชี นายสุรเชษฐ์ มังษะชาติ (Surachet Mungsachart)
หมายเลขบัญชี  
056-2-59225-5 ธนาคารกสิกรไทย สาขาสี่แยกบางนา

จากนั้นรบกวนส่งสลิบกลับทางเมลล์หรือไลน์ เพื่อเป็นการยืนยันการโอนครับสินค้าจะถูกส่งโดย EMS ให้ท่านในวันถัดไปครับ

ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียน
  • Computer basic for user.
  • Basics Autocad 2D and 3D.
  • Piping field skill.
เหมาะสำหรับบุคคลทั้่วไป นักศึกษา และวิศวกร ที่สนใจศึกษาเรื่องการเขียนแบบ Piping 3D

ความรู้ที่จะได้หลังจากเรียนจบหลักสูตรการใช้งานระดับกลาง

  • สามารถสร้างโปรเจค และเข้าใจความสำคัญของการสร้างโปรเจคอย่างถูกต้อง
  • สามารถจัดการในเรื่องของ Layout plan ที่จะนำมาใช้กับโปรเจคได้อย่างถูกต้อง
  • สามารถใช้งานและจัดการ Structure ของโปรแกรมได้
  • สามารถสร้าง Equipment และใช้งาน Equipment template ได้
  • สามารถใช้คำสั่ง 3D Pipe routing แบบต่างๆได้
  • สามารถนำคำสั่ง Autocad 2D มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการเขียนแบบ  3D Pipe routing ได้
  • สามารถจัดการ Piping component จาก Piping Spec Editor ได้
  • สามารถทำภายฉายจากโมเดลที่สร้างด้วยคำสั่ง Orthographic ได้
  • สามารถจัดการและแก้ไขในส่วนของ Isometric Drawing setting ได้
  • สามารถนำโปรเจคที่สร้างไปทำ Presentation และCheck clash งานในโครงการได้
  • สามารถเรียกใช้รายการวัสดุจาก Report Creator ได้

หัวข้อ และตัวอย่างการบรรยาย (Lecture)

คลิก (Free Video) เพื่อดูวีดีโอตัวอย่างสื่อการสอน

Part 1. Create and Handling file in Project.

Part 2. Structural
4.Manage Xref plan.
5.Create grid line.
6.Create footing and plate.
9.Create structure.
10.Cutting member.
11.Array Structure
12.Edit structure and array Rack No.2.
13.Edit more structure.
14.Create grid line.
15.Mach properties member.
16.Create Platform.
17.Create stair and Ladder.
18.Add Railing.
19.Add Grating.

Part 3. Parametric Equipment.
20.Attach Layout plant.
21.Create Pump.
22.Use Equipment template.

Part 4. Pipe Routing.
23.Prepair Drawing for pipe routing.
24.Elevation and routing.
25.Control parameter in pipe routing.
26.Add Slip on flange to project.
28.Add New Line number to existing pipe.
29.Place Valve and add strainer to project.
30.Override Tag format.
31.Route new line number.
32.Routing buy Pipe fitting feature
33.Edit Equipment.
34.Edit Pipe routing.
35.Piping technique.
36.Add Pipe Support.
37.Manage pipe routing.
38.Lock and unlock placement.

Part 5. Orthographic.
39.Create Orthographic drawing.
40.Edit View in Orthographic.
41.Orthographic annotation.
42.Use Dimension style.
43.Detail view.
45.Update view.
46.Ortho graphic drawing setting.
47.Bill of material setting.

Part 6. Isometric Drawing.
49.Quick Iso and Import-Export PCF.
50.Iso message Floor symbol and Flow arrow.
51.Add Insulation.
52.Start and break point in Iso drawing.
53.Add Field Weld.
54.Isometric Drawing setting.
55.Isometric drawing area.
56.Iso BOM setup.
57.Edit BOM table.
58.Rename a project.
59.Drawing number and Revision.

Part 7. Report Creator and Naviswork.
60.Report Creator.
61.Manage Isometric Drawing.
62.Create Main Assembly and Surface plane.
63.Work with Navisworks Mange 2016.
64.Handling yor project in Naviswork.
65.Save and Plublish Naviswork.
66.Clash Detective.
67.Export model to 3D CAD.(Free Video)

Part 8 .Piping spec Editor.
68.Create project for test piping spec.
69. Add Pipe and Fitting to Piping spec.
70. Part use Priority.
71. Add additional components.
72. Add Valve to piping spec.
73. Assign Connections in a Branch table.
74. Test Piping spec in Project.

Part 9. Tip and Trick.
75.Migrating Project.
76.Convert  Line to pipe..
77.Create Isometric 2D profile from Orthographic.
78.Check Elevation by ID command.
79.Auto route line in P&ID.
80.P&ID Convert object to PID Object.
81.P&ID Annotation concept.
82.Convert 3D object to Autocad plant 3D object.
83.Add more spec and service in P&ID.
84..Add weld to pipe  cut back elbow and base component.
85.Autocad block mapping.

Part 10.Piping Catalog file.



Tuesday, February 16, 2016

Review Autocad Plant 3D 2014 Ultimate DVD tutorial.

สวัสดีครับ
ในครั้งนี้ผมได้ทำ รีวิววีดีโอสื่อการสอน Autocad Plant 3D 2014 มาให้ชมครับ

สิ่งที่จะได้เรียนรู้หลังจากได้รับชมวีดีโอ

  • เข้าใจขั้นตอนวิธีการใช้งานดีวีดีสื่อการสอน
  • ได้เห็นเนื้อหาทั้งหมดที่มีในสื่อการสอน
  • เพื่อประกอบการตัดสินใจในการสั่งซื้อ
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า วีดีโอนี้จะสามารถทำให้คุณมั่นใจทั้งในคุณภาพการสอน รวมถึงเนื้อหาภายใน 
ทั้งเรื่องภาพและเสียงครับ


Tuesday, February 2, 2016

Autocad plant 3D 2016 Add Pump to Project and 3D Pipe routing

ในทางปฎิบัติ การเขียนแบบ Piping 3D ไม่ควรที่จะเขียนทุกอย่างไว้ในแบบใบเดียวครับ เพราะนั่นคือความเสี่ยงที่สูงมาก หากไฟล์ตัวนั้นเสียขึ้นมา กูรูด้านนี้หลายๆท่านเลยแนะนำให้จัดการด้วยวิธี Xref ซึ่งโปรแกรม Autocad plant 3D สามารถที่จะทำงานด้วยระบบ Xref ได้เป็นอย่างดี ลองเข้าไปดูในวีดีโอกันนะครับ

Sunday, January 31, 2016

Best tip trick 3 command in 5 Minuit

5 นาที กับ 3คำสั่ง ที่จะช่วยให้คุณเขียนแบบท่อได้เร็วขึ้น
  1. Add weld to pipe  คือการเพิ่ม Joint ให้กับท่อที่วางในแบบไปแล้ว
  2. Cut back elbow คือการตัดข้องอในแบบให้มีองศาตามที่ต้องการ
  3. Base to component คือการเลือกวัตถุในแบบเพื่อที่จะทำการอ้างอิงในการปรับระยะ

นี่คือความรู้ที่คุณจะได้รับหลังจากรับชมวีดีโอนี้จนจบใน 5 นาที ครับ

Wednesday, January 6, 2016

ADD MORE SPEC AND SERVICE IN P&ID PROJECT

ADD MORE SPEC AND SERVICE IN P&ID PROJECT

สำหรับในครั้งนี้ ผมได้แนะนำวิธีการบันทึก Piping spec and service ลงในโปรเจค P&ID ครับ ซึ่งวิธีนี้ จะช่วยลดขั้นตอนการพิมพ์ Spec and service ลงใน process line ทุกครั้งที่เราต้อง Assign tagในแบบ P&ID ด้วยโปรแกรม Autocad plant 3D ครับ ก็จะเหลือเพียงวิธีการเลือกใน List เท่านั้น ซึ่งสะดวกกว่ากันเยอะครับ

Sunday, January 3, 2016

How to add strainer for use in Project

วิธีการเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปใน Piping spec ของโปรเจค

โดยปกติแล้ว โปรแกรม Autocad Plant 3D จะมี Piping spec ที่เป็นมาตรฐานให้มาเยอะพอสมควรครับ แต่ที่บ้านเรานิยมใช้นำมาอ้างอิงในการทำงาน ในกรณีที่ผู้ว่าจ้าง หรือตัวผู้รับงานเองไม่มี Piping Spec เป็นของตัวเอง ก็จะนิยมใช้ CS150 หรือ CS300 ในการทำงาน แต่ Piping spec มาตราฐานที่ติดมากับโปรแกรมก็ไม่สามารถที่จะมีข้าวของครบตามที่เราต้องการ ในวีดีโอครั้งนี้ ผมจึงนำเสนอวิธีการ Customize เพื่อเพิ่มอุปกรณ์เข้าไป อย่างในครั้งนี้ ผมทดลองเพิ่ม Strainer เข้าไปในโปรเจคครับ